อัพเดทล่าสุด: 10 ก.ค. 2024
421 ผู้เข้าชม
ถุงเท้า แม้จะเป็นเพียงของใช้ชิ้นเล็กๆ แต่ก็ควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะถ้า
เลือกซื้อถุงเท้าได้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ก็จะได้
ถุงเท้าที่สวมใส่สบาย มีอายุการใช้งานเหมาะสม ทั้งยังอาจช่วยจัดการปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย สำหรับใครที่กำลังหาซื้อถุงเท้าคู่ใหม่ เราจะแนะนำว่าควรซื้อ
ถุงเท้าทำจากอะไรกันดี
ถุงเท้า ผลิตจากเส้นใยชนิดใด
โดยทั่วไปแล้วเส้นใยที่นิยมผลิตถุงเท้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมีข้อดีข้อเสียและความเหมาะสมต่อการใช้งานแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
- เส้นใยธรรมชาติ เป็นเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งจะมีทั้งเส้นใยพืชและเส้นใยที่ได้จากขนสัตว์ เช่น ฝ้าย ลินิน ใยไผ่ ขนแกะ เป็นต้น ซึ่งข้อดีของเส้นใยธรรมชาติจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา อาทิ ถุงเท้าเส้นใยไผ่จะมีความนุ่มเป็นพิเศษ ยิ่งใส่ยิ่งนุ่ม ส่วนถุงเท้าผ้าฝ้ายก็จะระบายอากาศได้ดี แต่โดยรวมแล้วเส้นใยธรรมชาติจะเป็นมิตรกับผิวพรรณ ไม่ทำให้ระคายเคือง สวมใส่สบาย อย่างไรก็ตามข้อเสียก็มีเช่นเดียวกัน เพราะถุงเท้าเส้นใยธรรมชาติมักมีราคาสูงแต่อายุการใช้งานสั้นกว่าเมื่อเทียบกับถุงเท้าใยสังเคราะห์ จึงต้องดูแลรักษาอย่างเหมาะสม จึงจะยืดอายุการใช้งานได้
- เส้นใยสังเคราะห์ มีหลายชนิด เช่น Nylon , Polyester หรือ Spandex ด้วยความที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ ถึงมักถูกปรับปรุงคุณสมบัติมาแล้ว เช่น มีความเหนียวแข็งแรง ทนทานต่อการซัก อายุการใช้งานยาวนาน ราคาถูก ทั้งนี้ถุงเท้าเส้นใยธรรมชาติอาจจะให้ความสึกแข็งสากมากกว่า ไม่กระชับกับเท้ามากนักและย่อยสลายได้ยาก
ซื้อถุงเท้าที่ผลิตจากอะไรมาใช้ดี
ปัจจัยสำคัญที่สุดของการเลือกซื้อถุงเท้าคือวัตถุประสงค์การใช้งาน หากสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีปัญหาเท้าเหม็นและเน้นสวมใส่ในขณะออกกำลังกายเป็นหลัก ก็แนะนำให้ซื้อถุงเท้าใยสังเคราะห์ เพราะทนทาน ใช้งานได้นาน แต่ถ้าจะซื้อเยอะๆ หรือเปลี่ยนบ่อยๆ ก็ไม่มีปัญหา เพราะราคาถูก แต่ถ้าต้องการถุงเท้าเพื่อสุขภาพ สวมใส่สบาย ไม่เน้นเคลื่อนไหวมากนัก ถุงเท้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติจะตอบโจทย์กว่า
สรุปได้ว่าวัสดุหลักที่ใช้ผลิตถุงเท้ามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ เส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยทั้งสองชนิดนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติของถุงเท้าที่ผลิตจากเส้นใยนั้นๆ ด้วย การได้ทราบว่าถุงเท้าผลิตจากอะไรจะช่วยให้สามารถเลือกซื้อถุงเท้ามาใช้ได้ตอบโจทย์ความต้องการมากขึ้นนั่นเอง